วิชาโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้(ง 40280)


ชื่อโครงงาน ปฏิกิริยาระหว่างน้ำแป้ง+ไอโอดีนกับโซเดียมไทโอซัลเฟต
ผู้จัดทำ นางสาวกนกวรรณ ธีรฐิติธรรม
ครูผู้สอน นายคเชนทร์ กองพิลา
คำถามของโครงงาน 1. อะไรคือแรงจูงใจที่ให้เราอย่างทำการทดลองโครงงานวิทยาศาสตร์นี้2. ทำไมเราถึงต้องการทดลองโครงงานวิทยาศาสตร์ 3. โครงงานการทดลองวิทยาศาสตร์มีประโยชน์กับตัวเราและคนอื่นๆอย่างไร
วัตถุประสงค์ ทำให้เรามีความรู้เรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์
ทำให้เรารู้จักหลักการทดลองวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนการทำภาพยนตร์

1. การคัดเลือกบทหนัง

บทหนังจะมีคนเสนอไปยังบริษัท GTH มีบทหนังเพียง 10% ที่ผ่านการคัดเลือกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์จริง ๆ หลักในการพิจารณาบทหนังคือ ความชอบของคนที่เกี่ยวข้อง หมายถึงคนที่ตรวจบทหนัง อันนี้อยู่ที่ความเห็นส่วนบุคคล อาจเรียกได้ว่าเป็นคะแนนพิศวาส และหลักที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พิจารณาจากสถิติของคนดู คือจะมีบริษัทเก็บข้อมูล ทำการสุ่มกลุ่มคน ว่ากลุ่มประชาชนตัวอย่างชอบหนังแนวไหน จากสถิตินี้ ก็จะนำมากำหนดเกณฑ์ที่จะคัดเลือกบทหนัง แต่ก็ไม่ได้เอาบทที่เราคัดเลือกมาแล้วนำมาถ่ายทำเลย ต้องนำมาเรียบเรียง สร้างสรรค์บท ใส่คำพูด เน้นรายละเอียดทุกฉากทุกตอน ซึ่งเรียกว่า “การพัฒนาบท” และเมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้นก็จะกลายมาเป็นบทที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะถ่ายทำ แต่กว่าบทหนังจะผ่านขั้นตอนนี้มาได้ บางเรื่องใช้เวลาเป็นปี
2. Pre Production

หลังจากได้บทที่สมบูรณ์มาแล้ว ก็เข้าสู่การเตรียมงานก่อนถ่ายทำ จะมีการประชุมวางแผนงาน พูดคุยกันเรื่องงบประมาณในการทำหนัง และการจัดเตรียมทีมงาน เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ จัดหาสถานที่ถ่ายทำ หาเสื้อผ้า ฉาก และที่สำคัญ จัดหาดารานักแสดง ในส่วนนี้ทีมงานก็ต้องแยกเป็นแต่ละฝ่ายเช่น ฝ่ายกำกับการแสดง ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายศิลป์ ฝ่ายสวัสดิการ ผู้จัดการกองถ่าย ฝ่ายจัดหานักแสดง
ในส่วนของฝ่ายจัดหานักแสดง ก็จะมีจดหมายจากคนที่อยากเป็นดาราสมัคร และส่งรูปเข้ามามากมาย รวมทั้งมีนายแบบ นางแบบจากโมเดลลิ่งด้วย เมื่อเราคัดเลือกจากรูปภาพได้แล้ว ก็ต้องนัดคนคนนั้นมาถ่ายรูปและมาแสดงความสามารถ
หลังจากได้นักแสดงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนถ่ายทำก็จะมีพิธีที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ พิธีบวงสรวงเปิดกล้อง ซึ่งเป็นพิธีทางศาสนาพราหม์ เป็นการบูชาครูทางด้านศิลปะ
3. ขั้นตอนการถ่ายทำ เมื่อมาถึงขั้นตอนการถ่ายทำจริงนี้ ทุกฝ่ายต้องเตรียมพร้อม จะมีทีมงานเข้ามาดูแลรับผิดชอบหลายสิบชีวิตในกองถ่าย ใครมีหน้าที่ดูแลส่วนไหนก็ต้องทำส่วนนั้นให้ดีที่สุด เช่น ฝ่ายจัดหาอาหาร ก็ต้องมากองถ่ายแต่เช้า เพื่อมาเตรียมอาหารให้ทีมงาน และนักแสดงทุกคนได้ทานกัน ส่วนฝ่ายแต่งหน้าทำผม ก็ต้องออกแบบทรงผมให้เข้ากับบทบาทของนักแสดง เป็นต้น
ในกองถ่าย 1 กอง จะมีทีมงานไม่ต่ำกว่าครึ่งร้อย ซึ่งเป็นจำนวนที่เยอะมาก ในกองถ่ายนั้นคนทุกฝ่ายจะต้องทำงานประสานกับเป็นหนึ่งเดียว โดยมีผู้กำกับเป็นหัวเรือใหญ่ คอยสั่งการนำทิศทางให้แต่ละฉากเป็นไปอย่างที่ตั้งใจไว้ วิธีทำให้คนทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันก็คือ การใช้ “Story Board” จะทำให้ทุกคนมองเห็นภาพและเข้าใจตรงกันมากที่สุด
ก่อนจะทำการถ่ายทำจริง ต้องมีการซักซ้อมกันก่อน ในส่วนของช่างภาพ ก็จะมีผู้ช่วยประมาณ 2-3 คน จะต้องมีคนวัดระยะ คนปรับโฟกัส ซึ่งในส่วนนี้ช่างภาพจะทำคนเดียวไม่ได้ จึงต้องมีผู้ช่วย ฟิล์มในการถ่ายภาพม้วนหนึ่งมีความยาวประมาณ 400 ฟุต ถ่ายได้ประมาณ 4 นาที ราคาม้วนละ 5,000 บาท ฟิล์มในการถ่ายหนังนี้ใช้บันทึกเสียงไม่ได้ ทำให้ต้องมีฝ่ายเสียงอีกทีหนึ่ง วิธีทำให้เสียงและภาพไปด้วยกันเมื่อทำการตัดต่อคือ ใช้ สเลท เข้ามาช่วย ซึ่งเป็นตัวแยกภาพและเสียง
เมื่อทำการถ่ายทำเสร็จหมดทุกฉากทุกตอนแล้ว ก็ต้องเอาฟิล์มหนังที่มีเป็นร้อย ๆ ม้วน ไปยังห้อง Lab เพื่อเข้าสู่กระบวนการตัดต่อ

4. การตัดต่อ เข้าสู่ขั้นตอนการตัดต่อ ค่าตัดต่อหนังขั้นต่ำประมาณ 4 ล้านบาท เมื่อมาถึงกระบวนการตัดต่อนี้ จะเริ่มด้วย การล้างฟิล์มให้สะอาด ต้องทำด้วยความระมัดระวังมาก ห้ามให้ฟิล์มเป็นรอยเด็ดขาด ต่อมาก็ต้องมาเช็คฟิล์ม ตามด้วย Telecine ก็คือการแปลงสัญญาณภาพจากฟิล์มมาเป็นระบบวีดีโอ ในส่วนของการลำดับภาพ ก็ต้องเอาภาพมาแยกเป็นซีน แล้วใส่เสียงให้ตรงกับภาพ แต่บางทีอาจจะมีฟิล์มบางส่วนต้องนำมาใส่เทคนิคพิเศษต่าง ๆ เมื่อได้ฟิล์มที่แยกเป็นซีนเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องนำฟิล์มมาตัดต่อให้เป็นเรื่องเดียวกัน ในขั้นตอนนี้คนตัดต่อฟิล์มต้องมีความละเอียดลออเป็นพิเศษ เพราะถ้าตัดฟิล์มผิดไป หรือตัดเบี้ยวไป ก็หมายถึงความผิดพลาดมหาศาล คนตัดฟิล์มจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ต่อมาก็เอาฟิล์มมาแต่งสีจากฟิล์มเนคกาทีฟ ก็มาทำให้เป็นสีจริง
ในขณะที่กระบวนการตัดต่อภาพดำเนินไป ด้านของเสียงก็ทำงานไปด้วย ในส่วนของเสียงนั้นส่วนใหญ่จะมาทำเองในห้องอัด ซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับทำเสียงมากมาย รวมทั้งการใส่เสียงประกอบและเอ็ฟเฟ็คด้วย เมื่อได้เสียงที่สมบูรณ์แล้วก็นำเสียงมามิกซ์เข้าด้วยกัน
และสุดท้ายก็มาถึงการพิมพ์ฟิล์ม ในส่วนนี้ภาพและเสียงจะต้องมาประกบเข้าด้วยกัน ภาพและเสียงจะมาเจอกันเป็นครั้งแรกที่ขั้นตอนนี้ และก็อยู่ด้วยกันไปอีกนานแสนนาน
เมื่อผ่านขั้นตอนสำคัญทั้งหมดนี้มาแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอน “การเซ็นเซอร์” เมื่อคณะกรรมการที่ตรวจหนังไฟเขียวผ่านเรียบร้อย ฟิล์มหนังที่เสร็จสมบูรณ์และถูกต้องตามกฎหมายก็ได้เวลาที่จะเข้าสู่โรงภาพยนตร์เพื่อออกฉายสู่สายตาประชาชนแล้ว

เมื่อหนังเปิดตัวที่โรงภาพยนตร์ใหญ่ใจกลางกรุงทั่วประเทศแล้ว ต่อมาก็จะเดินทางไปตามโรงภาพยนตร์เล็กที่อยู่ตามต่างจังหวัด จะอยู่ในโรงเล็กประมาณ 2-3 เดือน เมื่อฟิล์มผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านลมพายุฝนมามากมายแล้ว สุดท้ายก็จะกลายเป็น “หนังเร่” ในที่สุด
วาระสุดท้ายของชีวิตหนังที่ได้เกิดมาเดินทางทำหน้าที่จนใกล้หมดอายุขัยแล้วนั้น ฟิล์มหนังส่วนใหญ่จะถูกส่งไปเก็บรักษา ดูแลซ่อมแซมอย่างดีที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ มูลนิธิหนังไทย เพื่อยืดอายุชีวิต หรือบางเรื่อง ก็เพื่อชุบชีวิตให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ดูหนังในยุคเก่า ๆ กันอีกครั้งหนึ่ง

Hello world!

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!